บล็อกเชนคืออะไร
บล็อกเชน (Blockchain) คือระเบียนการบันทึกธุรกรรมที่เรียกว่าบล็อกซึ่งเชื่อมโยงกันโดยใช้การเข้ารหัส แต่ละบล็อกมีแฮชการเข้ารหัส (Cryptographic Hash) ของบล็อกก่อนหน้า การประทับเวลา (Timestamp) และข้อมูลธุรกรรม (Transaction Data) บรรจุอยู่ บล็อกเชนถูกคิดค้นโดยบุคคลที่ใช้ชื่อว่าซาโตชิ นากาโมโต้ (Satoshi Nakamoto) ในปี 2008 เพื่อใช้เป็นบัญชีแยกประเภทของธุรกรรมสำหรับเงินดิจิตอลหรือคริปโตเคอเรนซี่ (Cryptocurrency) ชื่อ บิทคอยน์ (Bitcoin) ปัจจุบันยังไม่มีใครทราบว่าซาโตชิ นากาโมโต้คือใคร
เมื่อมีการบันทึกข้อมูลในบล็อกใดแล้วจะไม่สามารถทำการแก้ไขภายหลังได้เพราะจะต้องแก้ไขบล็อกที่ตามมาทั้งหมด บล็อกเชนจึงได้รับการพิจารณาว่ามีความปลอดภัยโดยการออกแบบและเป็นระบบประมวลผลแบบกระจายที่มีความเสถียรต่อความผิดพลาด บล็อกเชนจึงได้รับการอธิบายความหมายว่าเป็นกระบวนการทางบัญชีแบบเปิดที่กระจายหน้าที่ในการบันทึกการทำธุรกรรม มีความถาวรของข้อมูลและตรวจสอบได้
ความเป็นมาของบล็อกเชน
บล็อกเชนระบบแรกมาจากแนวความคิดของซาโตชิ นากาโมโต้ในปี 2008 โดยปรับปรุงมาจากการออกแบบในลักษณะวิธีการคล้าย Hashcash มีการประทับเวลา (Timestamp) บล็อกโดยไม่ต้องผ่านบุคคลกลางที่เชื่อถือได้ และใช้พารามิเตอร์ในการรักษาอัตราคงที่โดยเพิ่มบล็อกเข้าไปในห่วงโซ่ บล็อกเชนจึงเป็นส่วนประกอบหลักของบิทคอยล์ซึ่งทำหน้าที่เป็นบัญชีแยกประเภทแบบสาธารณะสำหรับธุรกรรมทั้งหมดบนเครือข่าย
โครงสร้างของบล็อกเชน
บล็อกเชนคือกระบวนการทางบัญชีที่ใช้ดิจิทัลแบบกระจายและมีความเป็นสาธารณะซึ่งประกอบด้วยระเบียนที่เรียกว่าบล็อกที่ใช้ในการบันทึกธุรกรรมจำนวนมาก โดยบล็อกที่เกี่ยวข้องไม่สามารถแก้ไขย้อนหลังได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงบล็อกที่ตามมาทั้งหมด สิ่งนี้ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถตรวจสอบการทำทรานแซคชั่นได้อย่างอิสระและมีต้นทุนที่ไม่แพงนัก ฐานข้อมูลบล็อกเชนได้รับการจัดการโดยอัตโนมัติโดยใช้เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์และเซิร์ฟเวอร์ที่บันทึกเวลาแบบกระจาย โดยได้รับการรับรองความถูกต้องจากการทำงานร่วมกันที่ขับเคลื่อนโดยผลประโยชน์ส่วนรวมของผู้ใช้งาน
การออกแบบดังกล่าวช่วยให้เกิดขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูง การใช้บล็อกเชนทำให้ไม่มีลักษณะของการทำงานซ้ำที่ไม่มีที่สิ้นสุดของสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นการยืนยันว่าแต่ละหน่วยมีการโอนมูลค่าเพียงครั้งเดียวเพื่อแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน
บล็อกจะทำหน้าที่เก็บข้อมูลของกลุ่มธุรกรรมที่ถูกต้องซึ่งถูกแฮชและเข้ารหัสเป็นแผนผัง แต่ละบล็อกมีแฮชการเข้ารหัสของบล็อกก่อนหน้าในบล็อกเชนซึ่งเชื่อมโยงทั้งสองบล็อกโดยเชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ กระบวนการทำซ้ำนี้เป็นการยืนยันความสมบูรณ์ของบล็อกก่อนหน้าตลอดทางกลับไปที่บล็อกเริ่มต้นซึ่งเรียกว่าบล็อกกำเนิด (Genesis Block)
ความเชื่อทั่วไปที่ว่าสกุลเงินดิจิทัลเป็นสกุลเงินส่วนตัวและไม่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ จึงทำให้หลายคนใช้บล็อกเชนเพื่อวัตถุประสงค์ที่ผิดกฎหมาย แต่ตอนนี้มีบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีการให้บริการติดตามบล็อกเชนเพื่อการแลกเปลี่ยนเงินดิจิตอล หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและธนาคารตระหนักรู้มากขึ้น
เครดิตภาพ IDB, Aware, UIH
#บล็อกเชน #บล็อกเชนคืออะไร #อัพเดทเทคโนโลยี
Recent Comments