ภารกิจของยาน Perseverance ของนาซ่าบนดาวอังคาร ข่าวน่ารู้ อัพเดทสถานการณ์ เรื่องเล่า สาระความรู้ คู่ความบันเทิง
Category

ภารกิจของยาน Perseverance ของนาซ่าบนดาวอังคาร

ยาน Perseverance ขององค์การอวกาศสหรัฐอเมริกาได้ลงจอดบนดาวอังคารอย่างปลอดภัยหลังจากเดินทางจากโลก 292.5 ล้านไมล์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยืนยันเมื่อเวลา 15:55 น. วันพฤหัสบดีที่แล้ว โดยยานอวกาศ Perseverance สามารถลงจอดเองได้อย่างสมบูรณ์แบบตามภารกิจ

ยาน Perseverance ได้ส่งภาพแรกของจุดลงจอดทันทีหลังจากสัมผัสกับพื้นดาวอังคาร ซึ่งแสดงให้เห็นเงาของยานบนพื้นผิวที่จุดลงจอดที่ชื่อ “Jezero Crater”

ยาน Perseverance เดินทางด้วยระยะทางเกือบ 300 ล้านไมล์จากโลกเมื่อ 6 เดือนก่อน ในระหว่างการแพร่ระบาดของไวรัส

“การลงจอดของยาน Perseverance ครั้งนี้เป็นหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญสำหรับองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกาและการสำรวจอวกาศทั่วโลก เรารู้ว่าเรากำลังอยู่ในจุดเริ่มต้นของการค้นพบและการเขียนตำราใหม่ของการสำรวจอวกาศ” ผู้ดูแลโครงการนี้ Steve Jurczyk กล่าว

“ภารกิจสำรวจดาวอังคารของยาน Perseverance แสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งความพากเพียรของประเทศของเรา แม้ในสถานการณ์ที่ท้าทายที่สุด แรงบันดาลใจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการสำรวจภารกิจนี้แสดงให้เห็นถึงอุดมคติของมนุษย์ในการมุ่งมั่นสู่อนาคตและจะช่วยให้เราเตรียมพร้อมสำหรับการสำรวจดาวสีแดงดวงนี้ของมนุษย์ในช่วงทศวรรษ 2030”

ประธานโจ ไบเดนกล่าวแสดงความยินดีกับ Jurczyk และร่วมแสดงความยินดีกับผู้คนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนี้ และประธานาธิบดีไบเดนยังทวีตข้อความของเหตุการณ์นี้ว่า “ขอแสดงความยินดีกับนาซ่าและทุกคนที่ทำงานหนักทำให้การลงจอดครั้งประวัติศาสตร์ของยาน Perseverance สำเร็จได้ในวันนี้ พิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งว่าด้วยพลังของวิทยาศาสตร์และความเฉลียวฉลาดแบบอเมริกันไม่มีอะไรเกินขอบเขตของความเป็นไปได้”

ยาน Perseverance จะทำภารกิจการค้นหาสัญญาณของสิ่งมีชีวิตโบราณบนดาวอังคาร และเป็นยานอวกาศลำแรกที่บินบนดาวเคราะห์ดวงอื่นและทำการบันทึกเสียงครั้งแรกบนดาวเคราะห์สีแดงนี้

ยาน Perseverance จะสำรวจพื้นที่ของ Jezero Crater ซึ่งเป็นที่ตั้งของทะเลสาบโบราณที่มีอยู่เมื่อ 3.9 พันล้านปีก่อน และค้นหาไมโครฟอสซิลในหินและดินที่นั่น และภารกิจที่ติดตามมาคือการส่งตัวอย่างที่เก็บมากลับโลก โดยยาน Perseverance จะเดินทางกลับมาถึงโลกภายในปี 2030

“ภารกิจของยาน Perseverance จะเป็นขั้นตอนแรกในการนำหินจากดาวอังคารกลับมาโลก เราไม่รู้ว่าตัวอย่างหินจากดาวอังคารนี้จะบอกอะไรเรา แต่สิ่งที่พวกเขาบอกเราได้นั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่อาจรวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ครั้งหนึ่งเคยมีอยู่นอกโลก “

ยาน Perseverance คือความพยายามในการลงจอดครั้งที่เก้าบนดาวอังคารและเป็นยานสำรวจลำที่ห้าของนาซ่าโดยสัญญาณวิทยุใช้เวลา 11 นาทีในการเดินทางจากโลกไปยังดาวอังคารซึ่งหมายความว่า 7 นาทีที่ยานอวกาศจะลงจอดบนดาวอังคารนั้นเกิดขึ้นโดยปราศจากความช่วยเหลือจากทีมของนาซ่าบนโลก

ยาน Perseverance เป็นยานที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือมากกว่าหนึ่งเมตริกตันที่นาซ่าเคยพยายามลงจอดบนดาวอังคาร

ยาน Perseverance เคลื่อนที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศดาวอังคารด้วยความเร็ว 12,000 ไมล์ต่อชั่วโมงและต้องชะลอความเร็วลงเหลือ 1.7 ไมล์ต่อชั่วโมงในเจ็ดนาทีต่อมาขณะที่ร่อนลงสู่พื้นผิวดาวอังคารอย่างนุ่มนวล

ภารกิจสองปีของยาน Perseverance จะเริ่มขึ้นโดยนาซ่าสามารถติดตามการเดินทางโดยยานจะส่งแผนที่มาทันที ภาพถ่ายทุกภาพที่ส่งกลับโดยยานลำนี้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตจะสามารถเผยแพร่สู่สาธารณะได้ทันทีบนเว็บไซต์ของนาซ่า

ยาน Perseverance จะจับภาพสภาพแวดล้อมและส่งกลับมายังโลกทันทีเพื่อตรวจสอบ ทีมบนโลกจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณหนึ่งเดือนก่อนดาวน์โหลดซอฟต์แวร์และเตรียมการสำหรับส่งเฮลิคอปเตอร์ออกจากยานเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะทำงานตามแผนได้

โดยยาน Perseverance จะรอเวลาประมาณ 10 วันก่อนปล่อยเฮลิคอปเตอร์ลงบนพื้นผิวดาวอังคารและเคลื่อนออกไปจากมัน เฮลิคอปเตอร์ขนาด 4 ปอนด์จะต้องอยู่รอดในอากาศที่หนาวเหน็บบนดาวอังคารรักษาความอบอุ่นโดยชาร์จไฟด้วยแผงโซลาร์เซลล์ จากนั้นเฮลิคอปเตอร์จะพร้อมสำหรับเที่ยวบินแรกซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 20 วินาที

ยาน Perseverance จะค้นหาหลักฐานของสิ่งมีชีวิตและศึกษาสภาพภูมิอากาศและธรณีวิทยาของดาวอังคารและรวบรวมตัวอย่างที่จะส่งกลับมายังโลกภายในทศวรรษที่ 2030

ยาน Perseverance ยังมีเครื่องมือที่สามารถช่วยในการสำรวจเพิ่มเติมบนดาวอังคารในอนาคต เช่น MOXIE สำหรับการทดลองการสร้างออกซิเจนบนดาวอังคาร โดยจะพยายามเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของดาวอังคารให้เป็นออกซิเจน สิ่งนี้ไม่เพียงช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ของนาซ่าเรียนรู้วิธีผลิตเชื้อเพลิงจรวดบนดาวอังคาร แต่ยังรวมถึงการผลิตออกซิเจนที่สามารถใช้ในการสำรวจดาวเคราะห์สีแดงในอนาคตของมนุษย์ด้วย

เครดิตภาพ Astronomy, CNN

#ยาน Perseverance #ภารกิจสำรวจดาวอังคาร #ข่าวเทคโนโลยี