ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยุควิกฤตโควิด ข่าวน่ารู้ อัพเดทสถานการณ์ เรื่องเล่า สาระความรู้ คู่ความบันเทิง
Category

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยุควิกฤตโควิด

         ปี 2563 น่าจะเป็นปีประเทศไทยของเราได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่หนักหน่วงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2540 ที่ประเทศเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเราประสบกับความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างหนัก วิกฤตโควิดเริ่มต้นเมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ประเทศเริ่มมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากเป็นผลให้รัฐบาลต้องประกาศล็อคดาวน์ประเทศและจำกัดการเดินทางเข้าออกของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ มีการปิดสถานบันเทิง ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า และคุมเข้มการเดินทางภายในประเทศ นโยบายของรัฐบาลดังกล่าวส่งผลกระทบกับธุรกิจมากมายโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยและธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะโรงแรม ร้านอาหาร ธุรกิจขนส่งและธุรกิจการบิน มีคนตกงานและขาดรายได้จำยวนมาก ซ้ำร้ายในช่วงปลายปีประเทศยังได้รับผลกระทบจากความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมืองคาดกันว่าปี 2563 เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมจะติดลบประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงปี 2564

         จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย สภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 เมื่อการติดเชื้อภายในประเทศจากวิกฤตโควิดเริ่มเบาลง รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ มีการอนุญาตให้เปิดสถานบันเทิง ร้านอาหาร ศูนย์การค้า แต่ก็ยังมีการควบคุมทางด้านระยะห่างทางสังคม หากพิจารณาเศรษฐกิจเป็นรายภาคจะพบว่าได้ว่า การบริโภคและการใช้จ่ายของประชาชนสูงขึ้น ภาคธุรกิจการผลิตและการส่งออกปรับตัวดีขึ้น ภาคเกษตรราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นเพราะปริมาณความต้องการมีสูงกว่าปริมาณผลผลิตที่เกษตรกรผลิตได้โดยเฉพาะยางพารา ภาคอุตสาหกรรมการส่งออกสินค้าและการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบขยายตัวมากขึ้นและยอดขายในประเทศสูงขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ที่มีการออกรถรุ่นใหม่มาสู่ตลาดและมีการส่งเสริมการขาย ภาคการบริการและการท่องเที่ยวในประเทศปรับตัวดีขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการประกาศวันหยุดชดเชยสงกรานต์และการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศจากภาครัฐ แต่ก็ยังไม่สามารถชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่หายไปเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

         การใช้จ่ายภาครัฐสูงขึ้นจากมาตรการช่วยเหลือทางการเงินต่อประชาชนที่ออกมาตั้งแต่เริ่มมีการประกาศล็อคดาวน์ตั้งแต่ การชดเชยรายได้ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดคนละ 15,000 บาท โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการช้อปดีมีคืน โครงการช่วยเหลือเงินค่าครองชีพผู้ได้รับสวัสดิการรัฐ ส่วนหนึ่งมาจากพระราชกำหนดกู้เงินของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตโควิดเป็นผลให้หนี้สาธารณะของประเทศสูงขึ้นถึงห้าสิบเปอร์เซ็นต์ของจีดีพี

         สิ่งที่จะต้องระวังคือการกลับมาระบาดระลอกที่สองซึ่งรัฐบาลต้องเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นโดยประชาชนก็ต้องให้ความร่วมมือป้องกันตนเองด้วย เพื่อให้ประเทศไทยของเราประคองตัวให้ผ่านวิกฤตโควิดครั้งนี้ไปให้ได้

เครดิตภาพ Storehub , CTAT และ The Story

#เศรษฐกิจไทยหลังโควิด #ความถดถอยทางเศรษฐกิจ #อัพเดทสถานการณ์โลก