
อาการเสี่ยง “ออฟฟิศซินโดรม”
ยุคนี้หลายคนทำงานอยุ่กับหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งที่ทำงาน และที่บ้าน ด้วยเวลาที่นาน ๆ จนบ้างครั้งเกิดอาการปวดไหล่ปวดคอ และแน่นอนว่าการปวดต้นคอ บ่า ไหล่ นี่คืออาการหลักของโรคออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร
เดี๋ยวนี้ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คำที่ได้ยินกันแทบทุกวัน และรู้ว่าเป็นมากในกลุ่มคน ที่เป็นกลุ่มคนวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานในทางเดิม ๆ เป็นเวลานาน หลายชั่วโมงต่อวัน หรืออาจอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม ห่อไหล เกร็งบ่า ก้มคอมากไป จนทำให้เกิดอากาปวดเมื่อย จนอาจส่งผลรุกลามไปถึงระบบกล้ามเนื้อและกระดูกได้

สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม
สาเหตุหลัก ๆ เลย นั้นเกิดจากการนั่ง หรือยืน ทำงานในท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน และอาจอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสม หรือการจัดวางอุปกรณ์ที่ตำแหน่งไม่เหมาะ เช่น วางคอมพิวเตอร์ ต่ำหรือสูงเกินไป การก้มคอจ้อง หรือเขียนหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นเวลานาน การนั่งทำงานด้วยท่านั่งที่หลังโก่งงอ การเครียด หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงการทานอาหารด้วยนะ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นผลกับการเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม
อาการที่สำคัญของ “ออฟฟิศซินโดรม”
อาการที่เรารู้ ๆ กันว่า อาการออฟฟิศซินโดรม จะมีอาการปวดล้าตามกล้ามเนื้อ ตามส่วนต่าง ๆ โดยมากที่ บ่า ไหล่ คอ เอว และมีอาการปวดที่กินบริเวณกว้าง และสามารถขยายขั้นถึงการปวดจนร้าวและชาได้ อาการชานั้นจะมีผลกับระบบประสาทได้เช่น อาการชาตามมือและแขน ถ้าหากมีการกดทับเส้นประสาทเกิดดขึ้น จนสามารถรุกลามจนกลายเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ รวบถึงอาจเกิดอาการ วูบ ๆ วาบ ๆ มีอาการมึนงง หูอื้อ ตามัวร่วมด้วยได้
การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม
- สามารถทำได้ทั้งการทานยา อย่างเช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยารักษาเส้นประสาท แต่ควรปรึกษาแพทย์นะ
- ควรไปหาหมอที่ขอเข้ารับการบำบัด หากกินยาแล้วไม่ดีขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อน
- ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเดิม ๆ ที่อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการของออฟฟิศซินโดรม
การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม
- หากต้องน่าท่าเดิมนาน ๆ ควรที่จะลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสาย เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อบ้าง
- ควรจัดสิ่งแวดล้อมหรือโต๊ะทำงานให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เหมาะกับการทำงาน ให้สามารถนั่งทำงานได้อย่างสบาย
- ควรเปลี่ยนท่าทาง การนั่ง การยืนบ้างสักอย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายบ้าง
- ลองใช้วิธีการเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก “10-20-60” คือ
– ให้ละสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ด้วยการมองที่กว้าง ๆ ทุก 10 นาที
– ลองลุกเดินเล่นบ้าง หรือเดินไปห้องน้ำบ้าง เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถทุก 20 นาที
– แล้วเมื่อทำงานครบ 60 นาที ควรยืดเส้นยืดสายบ้าง เช่น การบิดเอว หมุนคอ บ้างเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นเรื่องใกล้ตัวนะคะ แต่ก็ไม่ใช้ว่าเราจะป้องกันไม่ได้ เพียงแค่คุณควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยทำซ้ำแบบที่ผิด มาเป็นการใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองบ้าง โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ เพื่อพาตัวเองให้ไกลจากความเสี่ยงจากการเป็นการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้
#ออฟฟิศซินโดรม #โรคคนทำงาน #ชีวิตติดโรค
Recent Comments