ญี่ปุ่นประเทศของผู้สูงอายุ ข่าวน่ารู้ อัพเดทสถานการณ์ เรื่องเล่า สาระความรู้ คู่ความบันเทิง
Category

ญี่ปุ่นประเทศของผู้สูงอายุ

         ปัจจุบันประเทศที่มีอัตราผู้สูงอายุมากที่สุดในโลกคือประเทศญี่ปุ่นที่กำลังประสบกับปัญหาสังคมผู้สูงวัยทั้งในชนบทและในเมือง จากประมาณการในปี 2014 ประชากรญี่ปุ่น 33 เปอร์เซ็นต์มีอายุมากกว่า 60 ปี, 25.9 เปอร์เซ็นต์มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และ 12.5 เปอร์เซ็นต์​​มีอายุ 75 ปีขึ้นไป 

         ประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประชากรสูงวัยในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างมากอันเป็นผลมาจากอัตราการเจริญพันธุ์ทดแทนมีน้อยและคาดว่าชาวญี่ปุ่นจะมีอายุขัยที่สูงขึ้นโดยประชากรของญี่ปุ่นเริ่มลดลงในปี 2011

         ในปี 2014 ญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 127 ล้านคน คาดว่าจะลดลงเหลือ 107 ล้านคน ภายในปี 2040 และเป็น 97 ล้านคนภายในปี 2050 หากแนวโน้มทางอายุประชากรยังคงเป็นเช่นปัจจุบันต่อไป

         รัฐบาลญี่ปุ่นตอบสนองต่อความกังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางประชากรอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและบริการสังคม โดยมีนโยบายเพื่อฟื้นฟูอัตราการเจริญพันธุ์และทำให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น

         ในปี 1950 ประชากรญี่ปุ่นที่อายุมากกว่า 65 ปีมีเพียง 4.9 เปอร์เซ็นต์ แต่ในปี 2014 เพิ่มเป็น 33 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 26 เปอร์เซ็นต์ของประชากรญี่ปุ่นทั้งหมด ในช่วงเวลาเดียวกันจำนวนเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ลดลงจาก 24.3 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในปี 1975 เป็น 12.8 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2014 จำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนมากกว่าเด็กในปี 1997 การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบประชากรของสังคมญี่ปุ่นที่เรียกว่าสังคมสูงอายุ เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นกว่าในประเทศอื่น ๆ

         จากการคาดการณ์จำนวนผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปในญี่ปุ่นจะเพิ่มเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของประชากรภายในปี 2060 และจำนวนประชากรทั้งหมดจะลดลงหนึ่งในสามจาก 128 ล้านคนในปี 2010 เหลือ 87 ล้านคนในปี 2060

         อายุขัยของคนญี่ปุ่นในปี 2016 คือ 85 ปี โดยผู้ชายมีอายุขัยอยู่คือ 81.7 ปีและผู้หญิงมีอายุไขอยู่ที่ 88.5 ปี ประชากรโดยรวมของญี่ปุ่นกำลังหดตัวลงเนื่องจากอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำประชากรสูงอายุจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

         ปัจจัยเรื่องโภชนาการที่ดีขึ้น เทคโนโลยีทางการแพทย์และเภสัชวิทยาขั้นสูง ช่วยลดจำนวนของโรคภัยไข้เจ็บและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นส่วนสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นทำให้ชาวญี่ปุ่นอายุยืนยาวขึ้น

         สัดส่วนการใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากประชากรสูงอายุของญี่ปุ่นใช้เวลาอยู่ในโรงพยาบาลและไปพบแพทย์มากขึ้น

         อายุขัยของคนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สองที่อายุขัยเฉลี่ยของผู้หญิงอยู่ที่ 54 ปี และผู้ชายอยู่ที่ 50 ปี แต่เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากปี 1950

         อัตราการเจริญพันธุ์ทั้งหมดของญี่ปุ่น ต่ำกว่าเกณฑ์ทดแทนที่ 2.1 ตั้งแต่ปี 1974 และแตะระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์ที่ 1.26 ในปี 2005

         ปัจจัยทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมมีส่วนทำให้การมีบุตรในญี่ปุ่นลดลงในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ได้แก่ การแต่งงานที่น้อยลง การศึกษาที่สูงขึ้น ครอบครัวที่อยู่ในเมืองเพิ่มมากขึ้น ความไม่สมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตครอบครัว ผู้หญิงเข้ามาอยู่ในกลุ่มแรงงานเพิ่มขึ้น 

         คนหนุ่มสาวจำนวนมากต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจเนื่องจากการขาดงานประจำ ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานของญี่ปุ่นไม่ได้ทำงานประจำซึ่งรวมถึงงานพาร์ทไทม์และลูกจ้างชั่วคราวด้วย ชายหนุ่มในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะแต่งงานแต่งงานน้อยลง หนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นหลายคนให้ข้อมูลว่าความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักเกินไปเป็นอุปสรรคต่อแรงจูงใจในการสานต่อความสัมพันธ์ที่โรแมนติก

         ระหว่างปี 1980 ถึง 2010 เปอร์เซ็นต์ของประชากรญี่ปุ่นที่ไม่เคยแต่งงานเพิ่มขึ้นจาก 22% เป็นเกือบ 30% แม้ว่าประชากรจะมีอายุมากขึ้นก็ตาม และภายในปี 2035 ผู้ชายหนึ่งในสี่คนจะไม่แต่งงานในช่วงปีที่ควรเป็นผู้ให้กำเนิดเด็ก สำหรับผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานในช่วงปลายของอายุ 20 และ 30 ยังคงอาศัยอยู่กับพ่อแม่ต่อไป

         ในปี 2015 ผู้หญิงชาวญี่ปุ่นหนึ่งในสิบคนที่อยู่ในวัย 30 ปีเป็นหญิงพรหมจารี อัตราของผู้หญิงอายุ 18 ถึง 39 ปีที่ไม่มีประสบการณ์ทางเพศอยู่ที่ 24.6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2015 เพิ่มขึ้นจาก 21.7 เปอร์เซ็นต์ในปี 1992 ในทำนองเดียวกันผู้ชายอายุ 18 ถึง 39 ปีที่ไม่มีประสบการณ์ทางเพศคือ 25.8 เปอร์เซ็นต์ในปี 2015 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 20 เปอร์เซ็นต์ในปี 1992

         ผู้ชายญี่ปุ่นที่มีงานที่มั่นคงและมีรายได้สูงมีแนวโน้มที่จะมีกิจกรรมทางเพศมากขึ้น ในขณะที่ผู้ชายที่มีรายได้น้อยมีแนวโน้มที่จะมีกิจกรรมทางเพศน้อยกว่า 10 ถึง 20 เท่า ในทางกลับกันผู้หญิงที่มีรายได้น้อยมีแนวโน้มที่จะมีเพศสัมพันธ์มากกว่า ผู้ชายที่ว่างงานมีแนวโน้มที่จะขาดประสบการณ์ทางเพศมากกว่าผู้ชายที่ทำงานนอกเวลาหรือทำงานชั่วคราว ซึ่งหมายความว่าการเงินและสถานะทางสังคมมีความสำคัญสำหรับผู้ชายในการหาคู่

เครดิตภาพ กรุงเทพธุรกิจ, ประชาชาติธุรกิจ

#ญี่ปุ่นน่ารู้ #สังคมผู้สูงอายุในญี่ปุ่น #อายุขัยคนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น