ระยะห่างทางสังคม ข่าวน่ารู้ อัพเดทสถานการณ์ เรื่องเล่า สาระความรู้ คู่ความบันเทิง
Category

ระยะห่างทางสังคม

         วิกฤตการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้สังคมไทยได้รู้จักคำว่าระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing คำๆนี้เป็นที่เข้าใจกันทั่วโลกในขณะนี้แต่ละประเทศมีมาตรการเพื่อเป็นกฏเกณฑ์ให้มีประชาชนปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การรักษาระยะห่างทางสังคม คือการงดเว้นการสัมผัสกับผู้อื่นและรักษาระยะห่างระหว่างกันเพื่อไม่ให้มีการติดเชื้อหรือแพร่กระจายของเชื้อออกไป นอกจากนั้นยังให้งดการเข้าไปอยู่ในฝูงชนที่มีจำนวนจำนวนมาก สังคมไทยไม่เคยพบกับสถานการณ์โรคระบาดที่ร้ายขนาดนี้มาก่อน เหตุการณ์ที่เกิดในสนามมวยจนทำให้มีการกระจายเชื้อโรคออกไปยังคนจำนวนมาก นั่นเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลเริ่มตระหนักถึงความน่ากลัวของเชื้อโรคตัวร้ายนี้ มีการประกาศล็อคดาวน์ประเทศและจำกัดการเข้าออกของคนไทยและนักท่องเที่ยว รวมทั้งมาตรการกักตัว 14 วันในสถานที่ของรัฐหรือของเอกชนที่ขึ้นทะเบียน

ความหมายสากลของระยะห่างทางสังคม

         ตามความหมายสากลทางสาธารณะสุขแล้ว ระยะห่างทางสังคมหมายถึงระยะห่างทางกายภาพคือมาตรการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อออกไป โดยการรักษาระยะห่างทางกายภาพระหว่างผู้คนและลดจำนวนครั้งที่ผู้คนสัมผัสใกล้ชิดกัน โดยปกติจะเกี่ยวข้องกับการรักษาระยะห่างจากผู้อื่น (ระยะห่างที่ระบุแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา) และหลีกเลี่ยงการรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่

         ด้วยการลดโอกาสความเป็นไปได้ที่ผู้ที่ไม่ติดเชื้อจะสัมผัสทางกายภาพกับผู้ติดเชื้อซึ่งจะสามารถระงับการแพร่เชื้อของโรคได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตน้อยลง  มาตรการนี้อาจใช้ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ ได้ เช่น การใส่หน้ากากเพื่อสุขอนามัยของระบบทางเดินหายใจที่ดีและการล้างมือเป็นประจำ ในระหว่างการระบาดของโควิด -19 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้คำว่า “ระยะห่างทางกาย” แทนคำว่า “ระยะห่างทางสังคม” เนื่องจากเป็นการระบุถึงการแยกทางกายภาพอย่างชัดเจน ผู้คนสามารถเชื่อมต่อกับสังคมผ่านเทคโนโลยีได้ เพื่อชะลอการแพร่กระจายของเชื้อโรคและแบ่งเบาระบบการรักษาพยาบาลที่ต้องรับภาระหนักเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดจึงต้องมีการใช้มาตรการสังคมหลายประการ ได้แก่ การปิดโรงเรียนและสถานที่ทำงาน การกักกันผู้ที่มีความเสี่ยงการติดเชื้อ จำกัดการเคลื่อนย้ายของผู้คนและการยกเลิกการชุมนุม .

         ข้อเสียของระยะห่างทางสังคมอาจรวมถึงความเหงา ผลผลิตลดลงและการสูญเสียผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ มาตรการทางสังคมจะได้ผลดีที่สุดเมื่อโรคติดเชื้อแพร่กระจายด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีดังต่อไปนี้ การสัมผัสกับละอองจากการไอหรือการจาม การสัมผัสทางกายโดยตรง รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสทางกายทางอ้อม เช่น การสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อโรค และการแพร่กระจายทางอากาศ (หากจุลินทรีย์สามารถอยู่รอดในอากาศได้เป็นเวลานาน) แต่มาตรการนี้จะได้ผลน้อยกว่า เมื่อการติดเชื้อเกิดจากการดื่มน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนหรือโดยสัตว์ที่เป็นพาหะเช่นยุงหรือแมลงอื่นๆ

Staff of food delivery companies sit on social distancing chairs due to coronavirus disease (COVID-19) outbreak, as they wait for their costumers’ orders at a department store in Bangkok, Thailand, March 24, 2020. REUTERS/Chalinee Thirasupa

         รัฐบาลสนับสนุนหรือสั่งการให้มีการรักษาระยะห่างทางสังคมระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากเป็นวิธีการสำคัญในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค และโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายในรัศมีใก้ลๆ มากกว่าในรัศมีไกล อย่างไรก็ตามมันสามารถแพร่กระจายไปในรัศมีที่ยาวกว่า 2 เมตร (6 ฟุต) ในพื้นที่ปิด การระบายอากาศไม่ดีและมีเชื้อโรคอยู่เป็นเวลานาน

เครดิตภาพ PTTGC, Whatphone, ประชาชาติธุรกิจ

#Social Distancing #ระยะห่างทางสังคม #โควิด-19