BTS, MRT, ARL รถไฟฟ้าเหมือนกัน แต่ทำไมเรียกต่างกัน
ระบบขนส่งสาธารณะในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ รถเมล์ เรือ เป็นเรื่องใกล้ตัว ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ล้วนมีความจำเป็นต้องใช้ เพื่อความสะดวกสบายในการสัญจรไปมา โดยเฉพาะรถไฟ เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก แต่คงมีเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่า ใครเป็นคนดูแล ใครเป็นเจ้าของ และใครคือผู้ให้บริการ
เป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปีที่มีรถไฟฟ้าเกิดขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยบริษัท บีทีเอส และในปี พ.ศ. 2547 ได้มีรถไฟใต้ดินขึ้น จากนั้นในปี พ.ศ. 2533 ได้สร้างรถไฟเชื่อมต่อสนามบินสุวรรณภูมิเข้าสู่เมืองใหญ่ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากประชาชนมาโดยตลอดจวบจนปัจจุบัน เพราะเนื่องจากผู้ใช้สามารถคุมระยะเวลาในการเดินทาง ประหยัดเวลา มีความสะดวกสบาย ช่วยลดค่าใช้จ่าย แต่ทุกวันนี้ที่การจราจรบนท้องถนนยังคงหนาแน่น เนื่องจากเส้นทางขนส่งทั้งทางยกระดับเหนือพื้นและใต้ดินยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลกำลังขยายการสร้างให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และกำลังจะกระจายไปในเขตปริมณฑลอีกด้วย เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมรถไฟฟ้าแต่ละประเภท ถึงเรียกไม่เหมือนกัน มาหาคำตอบดูดีกว่า
ทำไมใช้ร่วมกันไม่ได้ และชื่อเรียกต่างกัน
สาเหตุที่รถไฟแต่ละสายใช้งานร่วมกันไม่ได้ เป็นเพราะระบบการบริหารจัดการด้านการขนส่งมีการหลายหน่วยงานเป็นเจ้าของโครงการ ได้แก่
BTS หน่วยงานขนส่งมวลชนกรุงเทพ (กทม.) รับผิดชอบการก่อสร้าง จำนวน 5 เส้นทาง คือ สายสีเขียวเข้ม สายสีเขียวอ่อนเป็นเส้นทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรีเป็นแห่งแรก สายสีฟ้า ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ สายสีเทาเชื่อมวัชรพล-ทองหล่อ และ พระโขนง-ท่าพระ สายสีทองในย่านธนบุรีเป็นสายสั้น ๆ เพียง 4 สถานี สายสีเหลืองเชื่อมลาดพร้าว-สำโรง และ
MRT หน่วยงานการรถไฟฟ้าขนส่งมลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รับผิดชอบก่อสร้าง จำนวน 6 เส้นทาง คือ สายสีเขียวเข้มส่วนขยาย เหนือและใต้ เป็นการเชื่อมต่อหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สายสีน้ำเงินแบ่งออกเป็น 2 ช่วง บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-เตาปูน สายสีม่วง เชื่อมบางใหญ่-เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ สายสีส้ม ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-แยกร่มเกล้า สายสีเหลือง และสายสีชมพูเชื่อมต่อระหว่างมีนบุรีและนนทบุรี จากรัตนาธิเบศร์ สิ้นสุดที่ร่มเกล้า
ARL หน่วยงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รับผิดชอบจำนวน 3 เส้นทาง คือ Airport Rail Link เชื่อมเส้นทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ พญาไทและดอนเมือง สายสีแดงเข้ม เชื่อมต่อจากธรรมศาสตร์ถึงบางบอนมหาชัย สายสีแดงอ่อน จากศาลายาไปหัวหมาก
มาดูว่าในประเทศไทยมีรถไฟอะไรบ้าง
โดยทั่วไปรถไฟในบ้านเรามีอยู่ 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูง ความความเร็วเฉลี่ยตั้งแต่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป รถไฟทางไกล ความเร็วตั้งแต่ 80-160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีหน้าที่บริการประชาชนในการเดินทางระหว่างภูมิภาคและเมืองใหญ่ รถไฟชานเมืองหรือรถไฟท้องถิ่น มีความเร็ว 80-160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เชื่อมต่อผู้คนบริเวณชานเมืองสู่เมืองใหญ่ แต่ละสถานนีจะมีความห่างกันอยู่ประมาณ 3-5 กิโลเมตร รอบให้บริการตั้งแต่ 10-60 นาทีต่อขบวน และรถไฟฟ้าในเมือง มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บริการผู้ใช้ในเมืองเป็นหลัก แต่ละสถานีมีความถี่อยู่ที่ 1-2 กิโลเมตรต่อสถานี รอบการให้บริการ 1-5 นาทีต่อขบวน
น่าจะเป็นข้อมูลความรู้ที่อาจจะพอให้เข้าใจว่าทำไมถึงเรียกชื่อแตกต่างกัน และลักษณะต่าง ๆ ของรถไฟฟ้าที่มีให้บริการในบ้านเรา ซึ่งมีความเร็วและอัตราค่าบริการก็มีความแตกต่างกันออกไปจากกระบวนการทำงานและระบบต่าง ๆ ของรถไฟแต่ละประเภทนั่นเอง
เครดิตภาพ : sanook.com / shawpat.or.th / travel.trueid.net
Youtube:
Heavy rail กับ Light rail ต่างกันอย่างไร?
รถไฟฟ้า BTS vs MRT สีน้ำเงิน : อะไรเร็วกว่ากัน?
#รถไฟฟ้าแต่ละประเภท #รถไฟฟ้ามีกี่ชนิด #สาระน่ารู้
Recent Comments